วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย







ก่อนที่จะเข้าถึงลายละเอียดต่าง ๆ ของเนื้อหาการศึกษากับสื่อมัลติมีเดียเรามาทราบถึงความหมายเบื้องต้นกับคำว่า มัลติมีเดียก่อนดีกว่าค่ะ ว่าคืออะไร และมีลักษณะอย่างไร ซึ่งความหมายของ คำว่ามัลติมีเดีย มีอยู่มากมายเลยค่ะ แต่ก็มีลักษณะคล้าย ๆ กันค่ะ ซึ่งเราจะยกมาเขียนให้เพื่อน ๆ ได้ทราบ ซัก 2 -3 ความหมายค่ะ ไปดูเลยดีกว่า

ความหมายของมัลติมีเดีย
ยืน(2531: 121) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้นำเนื้อหาวิชาและลำดับวิธีการสอนมาบันทึงไว้ คอมพิวเตอร์จะช่วยนำบทเรียนที่เตรียมไว้อย่างเป็นระบบมาเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนแต่ละคน

ไพลิน(2539: 3) ให้ควมหมายของมัลติมีเดียว่า คือ สิ่งที่ใช้แทนข่าวสาร หลาย ๆ สื่อ แระกอบเข้าด้วยกัน เช่น ตัวอีกษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียงเป็นต้น

Holcomb (1992: 4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า มัลติมีเดียหมายถึง เทนโนโลยีแบบหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการผสมผสานสิ่งที่เป็นข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง ดนตรี วีดิโอ ในการนำเสนอ โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม

ลักษณะของมัลติมีเดีย
มัลติมีเดียไม่ใช่เทคโนโลยีเดี่ยว ๆ เพียงลําพัง แต่เป็นการบูรณาการเทคโนโลยีหลายอย่าง เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการออกแบบและใช้งาน เทคโนโลยีเหล่านี้ ได่แก่ เทคโนโลยีไมโครคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีจอภาพ เทคโนโลยีอุปกรณ์นําเข้าและแสดงผลข้อมูล เทคโนโลยีในการเก็บบันทึกข้อมูล เทคโนโลยีการย่อขนาดข้อมูล เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เครือข่าย เทคโนโลยีซอฟท์แวร์ และเทคนิคและวิธีการนําเสนอข้อมูล ลักษณะของมัลติมีเดียเกี่ยวข้องกับสื่อ ชนิดต่าง ๆ และวิธีการ ดังต่อไปนี้
1. ข้อความ (Text)

2. เสียง (Sound)
3. ภาพ (Picture)
4. ภาพวีดิทัศน์ (Video)
5. การปฏิสัมพันธ์ (Interaction)

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย
ในยุคสารสนเทศ การศึกษาหาความรู้สามารถกระทำได้ตลอดเวลา ไร้ขีดจำกัดเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่ นั่นคือการศึกษาจากเอกสารในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ในทางกลับกันขณะนี้การพัฒนาเกี่ยวกับเอกสารที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์จริงๆ ยังไม่ได้มีการพัฒนาตามโลกและยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง หนังสือส่วนใหญ่ยังคงเป็นเอกสารที่ใช้กระดาษในการจัดพิมพ์ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการพัฒนาหนังสือในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “e-Book” ซึ่งสามารถผลิตให้มีความสามารถหลายอย่างที่สูงกว่าหนังสือธรรมดา เช่น เป็นระบบการผลิตที่ไม่ใช้กระดาษ ผลิตได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว สามารถปรับปรุงได้ตลอดเวลา เชื่อมโยงเอกสารกับแหล่งความรู้ภายนอกได้ สามารถสั่งพิมพ์เอกสารได้ ทำสำเนาได้สะดวก ต้นทุนในการผลิตต่ำ สามารถใช้ได้ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์ ประการสำคัญที่สุดคือการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเกี่ยวกับป่าไม้ คราวนี้เราก็มาทำความรู้จักกับ การเรียนในแบบที่เรียกว่า "e-Book" กันค่ะว่ามีลักษณะอย่างไร

E-book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คำนี้อาจจะเป็นคำใหม่ในความรู้สึกของหลาย ๆ คน แต่ อีกไม่นานจะเป็นที่รู้จักในหมู่นักอ่านทั้งหลาย โดยเฉพาะในวงการห้องสมุดซึ่งในอนาคตจะมีการเปลี่ยน แปลงรูปแบบให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิตัลและห้องสมุดเสมือน เทคโนโลยีนี้ก็คง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำมาให้บริการกับผู้ใช้ ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับรูปแบบของ หนังสือก็ไม่จำเป็นว่าเราต้องโยนหนังสือทิ้งไปแล้วหันมาใช้เทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นแทนที่เพราะเราก็ไม่ ทราบว่าเมื่อไหร่เทคโนโลยีนี้จะเป็นที่นิยมและยอมรับอย่างแพร่หลาย และถึงแม้ว่าหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ในวงการหนังสือ แต่หนังสือก็ยังมีคุณค่าต่อมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ดังมีคำยกย่องเกี่ยวกับหนังสือจาก Tony Cawkell ว่าหนังสือจะยังคงมีการจัดพิมพ์อีกหลาย ปี และมีความจริงว่าการได้พบหน้ากันระหว่างหนังสือกับผู้อ่านจะมีความสัมพันธ์กับมนุษย์มากกว่าการ ใช้เครื่องจักร ซึ่งจะมีคำที่เกี่ยวข้องกัน 2 คำ คือการถ่ายโอนข้อมูล และพฤติกรรมของมนุษย์ หากมอง โดยผ่านๆ จะพบว่าการอ่านหนังสือ การสแกนหัวข้อข่าว การประเมินคุณค่ารูปภาพหรือภาพวาด เป็น การหาความบันเทิงที่มีความสุขจากแผ่นกระดาษ และยังสามารถจะเขียนข้อความอื่น ๆ ลงไปได้อีก สามารถนำติดตัวได้ อ่านบนเครื่องบิน รถไฟ ในห้องน้ำก็ได้ และมองดูสวยเมื่ออยู่บนชั้น ให้เป็นของ ขวัญกับคนที่รักได้

ความหมาย
ได้มีผู้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไว้หลายความหมาย ได้แก่ เป็นคำเฉพาะที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย โดย เฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นจานข้อมูลเสียง (Optical disc) เช่น ซีดีรอม และซีดีไอ และเป็น ซอฟต์แวร์ (ในรูปของดิสก์ขนาด 8 ซม.) เป็นคำที่ใช้ในการอธิบายตัวอักษรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับหนังสือ อยู่ในรูปแบบดิจิตัล โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ เป็นหนังสือถูกนำมาจัดพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอล ไม่บังคับการพิมพ์ และการเข้าเล่ม แผ่นซีดีรอมสามารถจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากในรูปแบบของตัวอักษร ทั้งลักษณะภาพ ดิจิตอล ภาพอนิเมชั่น วิดีโอ ภาพเลื่อนไหวต่อเนื่อง คำพูด เสียงดนตรี และเสียงอื่นๆ ที่ประกอบตัว อักษรเหล่านั้น มูลค่าของการจำลองลงบนแผ่นจานข้อมูลเสียง (Optical disc) เพียงแค่เป็นเศษส่วน ของการจัดพิมพ์และการห่อหนังสือในขณะที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีฮาร์ดแวร์ในการอ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ และขณะนี้มีราคาหลายระดับ ลักษณะของซอฟต์แวร์ที่เพิ่มเป็นแบบไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) สามารถแสดงผลของการค้นหาตัวอักษรได้ เชื่อมต่อกับไฮเปอร์เท็กซ์ มีคำแนะนำที่ สามารถอธิบายศัพท์เป็นระบบออนไลน์ และอาจมีหมายเหตุตรงขอบ เป็นต้น

วิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ได้มีการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาหรือวิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่าความคิดใน เรื่องหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ปรากฏในนิยายทางวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ภายหลังปี ค.ศ. 1940 เป็นหลัก การใหม่ของคอมพิวเตอร์ตามแบบแผน IBM มีผลิตภัณฑ์ คือ Book Master เนื้อหาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในปี 1980 และก่อนปี 1990 ในช่วงแรก มี 2 ส่วน คือ เรื่องเกี่ยวกับคู่มืออ้างอิง และการ ศึกษาบันเทิง งานที่เกี่ยวกับอ้างอิงมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผลิตและการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการ พร้อม ๆ กับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อน เช่น Silicon Graphics , Novell และผู้ผลิตได้ผลิตคู่มือ Dynatext ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 12 ชื่อ ตามรูปแบบเทคโนโลยีของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และในช่วงสิบปีมานี้ก็ได้เห็นความพยายามที่จะนำผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เข้ามา จำหน่ายในโลกแห่งความจริง แต่ส่วนมากก็ล้มเหลว แต่ก็มีบ้างที่ยังพอยู่ในตลาด เช่น Book man หรือ Franklin Bookman ซี่งการใช้งานยังคงห่างไกลที่จะเข้ามาเชื่อมโยงในตลาดกระแสแมนสตีมได้ ปัญหา ของอุปกรณ์เหล่านี้ก็คือ จอภาพขนาดเล็กที่สามารถอ่านออกได้ยาก อายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ค่อนข้าง สั้น อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีในการแปลงรหัส (encryption) เพื่อป้องกันข้อมูลของผู้พิมพ์ในเรื่องของ ลิขสิทธิ์ของตัวอักษร อีกทั้งวิธีจัดจำหน่ายและแสดงผลต่างๆ กันก็ยังไม่สะดวกต่อผู้ใช้ อย่างเช่นการใช้ แผ่นซีดีรอมหรือตลับบรรจุแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
พัฒนาการอันหนึ่งที่ได้เขามามีส่วนช่วยให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกิดการรุดหน้าเร็วขึ้นจน สามารถบรรลุผลในการเป็นหนังสือที่สมบูรณ์แบบก็คือ แล็บท็อปคอมพิวเตอร์ นั่นก็คือการนำบางส่วน ของแล็บท็อป เช่น สกรีน มาใช้ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญก็คือ ในระยะเมื่อไม่กี่ปีมานี้ราคาของ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ได้ลดลงไปมาก จนทำให้การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีคุณภาพสูง นอก จากนี้การบูมของอินเตอร์เน็ตก็ได้เข้ามาทำให้มนุษย์สามารถส่งสิ่งที่เป็นเอกสารหรือหนังสือได้คราวละ มาก ๆ โดยอาศัยอินเทอร์เน็ตและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย และไม่ต้องมีดิสก์เก็ตหรือการ์ดสำหรับการใช้ ในการเก็บข้อมูล เช่น นวนิยาย หรือเอกสารตำรา ในกรณีที่มีผู้เกรงว่าจะมีการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการ อาศัยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการรับส่งหนังสือ ตำรา หรือนวนิยายนั้น ก็สามารถป้องกัน ได้ด้วยการใช้รหัส (encryption) เพื่อไม่ให้บรรดาผู้ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ในการแจกจ่ายเนื้อหาในหนังสือนวนิยายหรือตำรา โดยไม่ต้องไปซื้อหามา อนึ่ง หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ก็ได้อาศัยหลักการที่ว่าจะนำเทคโนโลยีที่มีความบางเบามากๆ มาใช้ เช่น สกรีน โดยจะละ ทิ้งทุกสิ่งในแล็บท็อปที่มีน้ำหนักมาก เช่น โปรเซสเซอร์แบบเฮฟวี่ดิวตี้ งานพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จึงได้มุ่งหนักไปในเรื่องของความบางเบาและการพิมพ์ทุกอย่างลงบนแผ่นพลาสติกหรือสิ่งอื่นใดที่จะนำ มาทำหน้าที่คล้ายกับกระดาษให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อันหมายถึงการพิมพ์ตั้งแต่สิ่งที่เป็นวงจรทาง อิเล็กทรอนิกส์จนถึงสิ่งอื่นๆ เช่น หน่วยความจำสำรอง (ภายในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะไม่มีซีพียู) ลงบน แผ่นบางๆ ที่จะทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อันเนื่องจากต้องการประหยัดน้ำ หนัก นอกจากนี้ลักษณะที่กล่าวมาของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็ยังมีส่วนที่เรียกว่าเนื้อหาด้วยซึ่งเนื้อหา ในที่นี้ได้มีกล่าวไว้ว่า เนื้อหา (content) เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ประโยชน์บนเครือข่ายมีความสามารถ ในการส่งสัญญาณเสียง การแพร่กระจายของวัสดุ

สรุป
คำว่า Multimedia นิยมพูดทับศัพท์ และใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้น คำจำกัดความของคำว่า Multimedia ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนไปบ้าง ภาพทัศน์เดิมซึ่งเป็นการต่อเชื่อมอุปกรณ์หลายประเภทเข้ามาใช้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ และต้องมีการจัดเตรียมเพื่อนำเสนออย่างพิถีพิถัน กลายเป็นการมองภาพของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถนำเสนอสื่อหลากหลายประเภท ผ่านจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบอื่น โดยความยากจะอยู่ที่ขั้นตอนการเขียนหรือออกแบบโปรแกรม ส่วนการนำเสนอนั้นง่ายไม่ซับซ้อน
คำว่า “ สื่อมัลติมีเดีย” เป็นการใช้คำซ้อนกัน คือคำว่า สื่อ + Multimedia ซึ่ง Multimedia ก็มีความหมายว่า สื่อประสมหรือสื่อหลายสื่ออยู่แล้ว เมื่อมาผนวกกันจึงเกิดคำซ้ำขึ้น คือ สื่อ + สื่อประสม คำว่าสื่อมัลติมีเดียที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้จึงให้มีวัตถุประสงค์เฉพาะซึ่งได้อธิบายไว้ในตอนต้นของบทนี้แล้ว

ปัจจุบัน สื่อมัลติมีเดียบนเว็บและสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอมกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การออกแบบสื่อมัลติมีเดียมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น หากออกแบบเพื่อการเรียนการสอน เราเรียกว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ Computer – Assisted Instruction ( CAI) สื่อมัลติมีเดียไม่จำเป็นต้องเป็น CAI เสมอไป ข้อมูลต่าง ๆ ที่เราสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตซึ่งมีภาพและเสียงก็ถือเป็นสื่อมัลติมีเดีย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สถาบันการศึกษาเกือบทุกระดับได้เล็งเห็นความสำคัญของสื่อมัลติมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง CAI แต่เนื่องจากสื่อมัลติมีเดียที่จำหน่ายมีราคาค่อนข้างแพงและไม่ค่อยสอดคล้องกับของหลักสูตร การลงทุนจึงไม่ค่อยได้ผลเต็มที่ สถาบันการศึกษาหลายแห่งแก้ปัญหาด้วยการผลิตสื่อมัลติมีเดียเอง



ขอขอบคุณ ที่มาของเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้นำมาเรียบเรียงไว้ในบล็อกนี้








วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ง่ายที่จะ...ตัดสินความผิดพลาดของคนอื่น ยากที่จะ...สำนึกถึงความผิดของตนเอง
ง่ายที่จะ...พูดโดยไม่คิด ยากที่จะ...ไม่พูด


ง่ายที่จะ...ทำร้ายคนที่รักเรา ยากที่จะ...เยียวยาบาดแผลที่เราทำไว้กับเขา ง่ายที่จะ...อภัยให้คนอื่น ยากที่จะ...ขอให้คนอื่นอภัยให้
ง่ายที่จะ...ตั้งกฎเกณฑ์ ยากที่จะ...ทำตามกฎนั้น

ง่ายที่จะ...ฝันทุกค่ำคืน ยากที่จะ...สู้เพื่อฝันนั้น ง่ายที่จะ...อวดความสำเร็จ ยากที่จะ...ยอมรับความพ่ายแพ้อย่างมีศักดิ์ศรี
ง่ายที่จะ...ชื่นชมความงามของดวงจันทร์ ยากที่จะ...เห็นอีกด้านของมันที่ไม่สวยงามนัก
ง่ายที่จะ...สะดุดหกล้ม ยากที่จะ...ลุกขึ้นมาใหม่

ง่ายที่จะ...มีความสุขในทุกวัน ยากที่จะ...เห็นคุณค่าที่แท้จริงของความสุขนั้น ง่ายที่จะ...สัญญากับใคร ๆ ยากที่จะ...ทำตามสัญญานั้น
ง่ายที่จะ...บอกว่ารัก ยากที่จะ...แสดงความรักนั้น

ง่ายที่จะ...วิจารณ์คนอื่น ยากที่จะ...ปรับปรุงตนเอง
ง่ายที่จะ...ทำผิด ยากที่จะ...เรียนรู้จากความผิดนั้น ง่ายที่จะ...ทุกข์ทรมานเพราะสูญเสียความรัก ยากที่จะ...รักษารักนั้นเพื่อที่จะไม่ต้องสูญเสียมันไป
ง่ายที่จะ...คิดที่จะปรับปรุง ยากที่จะ...เลิกคิด แล้วทำให้มันเกิดขึ้นจริงซะที

ง่ายที่จะ...คิดกับคนอื่นในแง่ร้าย ยากที่จะ...ให้โอกาส และคิดว่าเขาอาจจะไม่เป็นเช่นที่เราคิด
ง่ายที่จะ...รับ ยากที่จะ...ให้ ง่ายที่จะ...รักษาความเป็นเพื่อนด้วยคำพูด ยากที่จะ...ทำตามความหมายของคำว่าเพื่อน '...But man is not made for defeat. A man can be destroyed but not defeated.'
มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อยอมแพ้ มนุษย์อาจถูกทำลายได้แต่จะไม่ยอมแพ้
ที่มา:fwmail
โดย :ดุ๊กดิ๊ก (ทีมงาน TeeNee.Com) โพสเมื่อ [ วันอาทิตย์ ที่ 2 พฤศจิกายน 2551 เวลา 08:40 น.]